หลักสูตร “Trade-Based Money Laundering (TBML)” รุ่นที่ 1
หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันธุรกรรมทางการเงินถูกพัฒนาอย่างไร้ขีดจำกัด วิวัฒนาการต่างๆ เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก โดยเฉพาะธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศเป็นธุรกรรมสถาบันการเงินต้องให้ความสำคัญและเข้าใจบทบาททางด้านมาตรการป้องกันการปราบปรามการฟอกเงินที่ทุกสถาบันการเงินทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญ และตระหนักถึงภัยคุกคามที่ต้องมีมาตรการป้องกัน และบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
จึงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อไม่ให้สถาบันการเงินตกเป็นช่องทางการฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายรวมถึงมาตรฐานสากลต่างๆที่กำหนดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องก็เพื่อป้องกันภัยคุกคามดังกล่าวแต่ด้วยสถานการณ์โลกในปัจจุบันที่มีภัยคุกคามต่างๆมากมายเกิดขึ้น เช่น ภัยสงคราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยีภัยก่อการร้าย เป็นต้น
สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทยจึงได้เล็งเห็นว่านอกจากความเข้าใจในกฎเกณฑ์แล้วผู้ปฏิบัติงานยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสากลต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันรวมถึงการนำหลักการที่ได้จากการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ต่างๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ หรือกระบวนการปฏิบัติงานด้าน
การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูงที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
2) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานรวมถึงรูปแบบและ
วิธีการตรวจจับธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยสำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
3) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแสดงความคิดเห็น
เนื้อหาหลักสูตร
* ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance)
* มาตรฐาน AML
* Best Practices ของ TBML
* Best Practice of Trade Based Money Laundering (TBML)
- การทำ KYC/CDD ของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น Correspondent Bank
- การทำ Name Screening / Transaction Filtering เพื่อป้องกัน TBML
- การตรวจสอบ 50% Rule ของ OFAC (US)
- Sanction Countries และ Sanction List ตามมาตรฐานสากลที่จำเป็น
- Typologies of TBML
- AML of Letter of Credit
* กรณีศึกษาของ TBML
*หมายเหตุ เนื้อหาหลักสูตรอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม*
วันที่ : 23 เมษายน 2568
เวลา : 09.00 - 16.00 น.
สถานที่ :ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ถนนพญาไท
ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน และจากธนาคารพาณิชย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้าน Trade Financeและด้าน AML/CFT
เจ้าหน้าที่และผู้บริหารของสถาบันการเงินองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปที่ปฏิบัติงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ขั้นตอนการสมัครอบรม
1.ท่านสามารถสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tibfa.co.th หรือสแกน QR CODE (ตามที่แนบมา) โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม
2.ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.tibfa.co.th โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร กดดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม และสแกนใบสมัครส่งมาได้ที่อีเมล [email protected]
วิธีการชำระเงิน
1.การโอนเงินเข้าบัญชี
ชื่อบัญชี “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย” บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถนนรัชดาภิเษก (สุขุมวิท-พระราม4) เลขที่บัญชี 718-2-09176-0
2.การสั่งจ่ายด้วยเช็ค ในนาม “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย”
หมายเหตุ
1. สามารถหัก ภาษี ณ ที่จ่ายได้ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993000133412
2. กรุณาส่งหน้าเช็คหรือใบนำฝากมาที่อีเมล [email protected]
3. กรุณาชำระเงินอย่างน้อยล่วงหน้า 15 วัน ก่อนวันอบรมสัมมนา
4. ทางสมาคมสถาบันฯ ไม่รับชำระเป็นเงินสดหน้างาน
5. กรณีสมัครอบรมสัมมนาแล้ว หากไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน
หากแจ้งล่าช้าหรือกะทันหันจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าอาหาร และค่าเอกสารบรรยาย ฯลฯ
• กรณีที่มีการยกเลิก หากผู้สมัครแจ้งยกเลิกอย่างน้อย 10 วัน ก่อนวันสัมมนา ท่านจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน (ก่อนVAT) หากแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนวันสัมมนา ท่านจะได้คืน 50% ของราคาสัมมนา หากผู้สมัครที่ไม่ได้ยกเลิกภายในระยะเวลาที่กำหนดทางสมาคมสถาบันฯ ถือว่าท่านสละสิทธิ์ และจะไม่คืนเงินให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
• กรณีผู้สมัครต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง ต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันก่อนวันสัมมนา มิฉะนั้นทางสมาคมสถาบันฯ จะคิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน 20% ของราคาสัมมนา ( รวม VAT )