หลักสูตร “เทคนิคการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายย่อย” (Micro Lending (Finance) Program) รุ่นที่ 1
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันธุรกิจรายย่อยหรือ Micro Business มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในด้าน การสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน อย่างไรก็ตามธุรกิจรายย่อยมักประสบปัญหา ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากข้อจำกัดด้านหลักประกันทางธุรกิจ การจัดทำงบการเงิน หรือความรู้ความเข้าใจในระบบ การขอสินเชื่อ
สถาบันการเงินและเจ้าหน้าที่สินเชื่อจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ และให้ คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ผู้ประกอบการรายย่อย การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการวิเคราะห์ธุรกิจ ขนาดเล็กการบริหารความเสี่ยง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสถาบันการเงินกับลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริม การปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ
หลักสูตร “เทคนิคการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายย่อย” จึงถูกออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปล่อยสินเชื่อในภาคธุรกิจรายย่อย โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ การวิเคราะห์กรณีศึกษา และเทคนิค การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพของการให้สินเชื่อ พร้อมทั้งช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน ของผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการวิเคราะห์สินเชื่อให้กับผู้เข้ารับการอบรม ที่สนใจหรือทำงานด้านสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (Micro Loans) ให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ และทฤษฏีรวมถึงแนวปฏิบัติในการให้สินเชื่อธุรกิจรายย่อยในระดับสากล
2.สร้างมาตรฐานสากลในการวิเคราะห์สินเชื่อ และการบริหารสินเชื่ออย่างมืออาชีพให้เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการอบรมด้วยการพัฒนาหลักสูตรที่พร้อมไปด้วยหลักการด้านทฤษฏีที่เป็นสากลและแนวปฏิบัติด้านสินเชื่อที่สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
3.เตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านสินเชื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพกับสถาบันการเงินต่างๆ ด้วยการพัฒนาหลักสูตรการอบรมด้านสินเชื่อที่สามารถผสมผสานหลักการทางด้านทฤษฏี ที่เป็นสากล เข้ากับการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่เน้นการทำ Workshop ควบคู่กัน
เนื้อหาหลักสูตร
*ตลาดสาหรับสินเชื่อธุรกิจรายย่อยในประเทศไทย
* บทบาทภาครัฐ ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และพัฒนาการ
* ความหมาย และประเภทของความเสี่ยง
* ประเภทของสินเชื่อของธนาคาร
o สินเชื่ออุปโภค
o สินเชื่อเพื่อการดาเนินธุรกิจ
* ความต้องการสินเชื่อของลูกค้าหรือผู้กู้
o สินเชื่อเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน
o สินเชื่อระยะยาว เพื่อการลงทุน
o สินเชื่อประเภทหนังสือค้าประกัน
* กรอบการวิเคราะห์เครดิตที่สำคัญ (Credit framework analysis)
o หลักของ 5 C’s
o หลักของ 4 P’s & PRISM Model
* กระบวนการให้เครดิตหรือสินเชื่อ (Credit process/loan approval process)
* นโยบายเครดิตสาหรับธุรกิจรายย่อยของธนาคารพาณิชย์
* ประเภทของข้อมูลเครดิตสาหรับสินเชื่อธุรกิจรายย่อย
* การรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลเครดิต
* ความเข้าใจงบการเงิน และการสร้างงบการเงินจำลอง
*การจัดโครงสร้างสินเชื่อสาหรับธุรกิจรายย่อย
*กุญแจความสำเร็จในการให้สินเชื่อธุรกิจรายย่อย
* กรณีศึกษา 1
* กรณีศึกษา 2
* อภิปราย แลกเปลี่ยนความเห็น
หมายเหตุ : เนื้อหาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
วันที่ : 22 กันยายน 2568
เวลา : 09.00 - 16.00 น.
สถานที่ :ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ถนนพญาไท
วิทยากร ดำเนินการอบรมโดยคณะอาจารย์ที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านสินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยงจาก สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย (TIBFA, Thailand)
เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารที่มีประสบการณ์ ที่รับผิดชอบงานทางด้านการให้กู้ยืมวิเคราะห์สินเชื่อ ในฝ่ายบริหารธุรกิจ ลูกค้า SMEs รวมถึงหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องของธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆ รวมถึงบริษัทวิเคราะห์ หลักทรัพย์ การลงทุนที่ปรึกษาทางการเงินต่างๆ ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สินเชื่อ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป
ขั้นตอนการสมัครอบรม
1.ท่านสามารถสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tibfa.co.th หรือสแกน QR CODE (ตามที่แนบมา) โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม
2.ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.tibfa.co.th โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร กดดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม และสแกนใบสมัครส่งมาได้ที่อีเมล [email protected]
วิธีการชำระเงิน
1.การโอนเงินเข้าบัญชี
ชื่อบัญชี “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย” บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถนนรัชดาภิเษก (สุขุมวิท-พระราม4) เลขที่บัญชี 718-2-09176-0
2.การสั่งจ่ายด้วยเช็ค ในนาม “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย”
หมายเหตุ
1. สามารถหัก ภาษี ณ ที่จ่ายได้ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993000133412
2. กรุณาส่งหน้าเช็คหรือใบนำฝากมาที่อีเมล [email protected]
3. กรุณาชำระเงินอย่างน้อยล่วงหน้า 15 วัน ก่อนวันอบรมสัมมนา
4. ทางสมาคมสถาบันฯ ไม่รับชำระเป็นเงินสดหน้างาน
5. กรณีสมัครอบรมสัมมนาแล้ว หากไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน
หากแจ้งล่าช้าหรือกะทันหันจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าอาหาร และค่าเอกสารบรรยาย ฯลฯ
• กรณีที่มีการยกเลิก หากผู้สมัครแจ้งยกเลิกอย่างน้อย 10 วัน ก่อนวันสัมมนา ท่านจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน (ก่อนVAT) หากแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนวันสัมมนา ท่านจะได้คืน 50% ของราคาสัมมนา หากผู้สมัครที่ไม่ได้ยกเลิกภายในระยะเวลาที่กำหนดทางสมาคมสถาบันฯ ถือว่าท่านสละสิทธิ์ และจะไม่คืนเงินให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
• กรณีผู้สมัครต้องการยกเลิกการสำรองที่นั่ง ต้องแจ้งความจำนงล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันก่อนวันสัมมนา มิฉะนั้นทางสมาคมสถาบันฯ จะคิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน 20% ของราคาสัมมนา ( รวม VAT )