LOADING SOON...
ภาษา :


หลักสูตร

หลักสูตร กฎหมาย ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมทางการเงิน รุ่นที่ 1

 




หลักการและเหตุผล

    กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการเงินมีบทบาทสำคัญในการสร้างความปลอดภัยและความเชื่อถือในการทำธุรกรรมผ่านเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาบริการทางการเงิน FinTech ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยมีตัวอย่างเช่น บริการชำระเงินออนไลน์ (E-Wallet), บริการสินเชื่อออนไลน์, การลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน และสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)ในด้านกฎหมาย กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีความสำคัญในการกำกับดูแลการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีผลบังคับทางกฎหมาย กฎหมายนี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินธุรกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ให้มีผลทางกฎหมายเทียบเท่าการลงนามทั่วไป จึงถือว่ากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของนวัตกรรมทางการเงินโดยเฉพาะในยุคดิจิทัลภาคการเงินได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาบริการทางการเงินต่าง ๆ เพื่อลดความซับซ้อน เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแก่ผู้ใช้ FinTech ครอบคลุมหลายประเภท เช่น การชำระเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อ การประกันภัย รวมถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างกว้างขวางไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่เข้าถึงธนาคารแบบดั้งเดิม  อีกทั้งยังส่งเสริมนวัตกรรมและความโปร่งใสในระบบการเงินกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับ FinTech ในประเทศไทย เช่น พระราชบัญญัติการชำระเงิน พ.ศ. 2560 และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น

เนื้อหาหลักสูตร

* กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทา

* การเงิน การสร้างความปลอดภัยและความเชื่อถือในการทำธุรกรรมผ่านเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่

* การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาบริการทางการเงิน FinTech

* การกำกับดูแลการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออินเทอร์เน็ต

* การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature)

* การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาบริการทางการเงินต่าง ๆ

* การชำระเงิน การลงทุน การให้สินเชื่อ การประกันภัย รวมถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล

* ตัวอย่างเช่น บริการชำระเงินออนไลน์ (E-Wallet), บริการสินเชื่อออนไลน์, การลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน และสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

 

รายละเอียด

วันที่ : 22 พฤศจิกายน 2567

เวลา : 09.00 - 16.00 น.

สถานที่ :โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา

วิทยากร

วิทยากร เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ รวมทั้งความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการเงินเป็นอย่างดียิ่ง จากกระทรวงการคลัง

คุณสมบัติของผู้ร่วมอบรม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม 

เจ้าหน้าที่  หัวหน้าหน่วยงาน  รวมทั้งผู้บริหารของธนาคาร  สถาบันการเงินต่างๆ ที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายตรวจสอบ  Compliance ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายบริหารความเสี่ยง รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจทั่วไป

ขั้นตอนการสมัคร เเละวิธีการชำระเงิน

1.ท่านสามารถสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tibfa.co.th หรือสแกน QR CODE  (ตามที่แนบมา) โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม

2.ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.tibfa.co.th โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร  กดดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม และสแกนใบสมัครส่งมาได้ที่อีเมล info@tibfa.co.th

วิธีการชำระเงิน

1.การโอนเงินเข้าบัญชี

ชื่อบัญชี “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย” บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถนนรัชดาภิเษก (สุขุมวิท-พระราม4) เลขที่บัญชี 718-2-09176-0 

2.การสั่งจ่ายด้วยเช็ค ในนาม “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย”

หมายเหตุ         

1. สามารถหัก ภาษี ณ ที่จ่ายได้ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993000133412

2. กรุณาส่งหน้าเช็คหรือใบนำฝากมาที่อีเมล info@tibfa.co.th

3. กรุณาชำระเงินอย่างน้อยล่วงหน้า 15 วัน ก่อนวันอบรมสัมมนา

4. ทางสมาคมสถาบันฯ ไม่รับชำระเป็นเงินสดหน้างาน

5. กรณีสมัครอบรมสัมมนาแล้ว หากไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน

หากแจ้งล่าช้าหรือกะทันหันจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าอาหาร และค่าเอกสารบรรยาย ฯลฯ 

สถานที่

แผนที่

ADDRESS

Address: 7/2 LIKID BUILDING 2 Chankasem Sub-district, Chatuchak District, Bangkok 10900 Thailand


Tel : 02-077-7891,02-077-8093,02-077-8286,02-077-8291


Email : info@tibfa.co.th
SOCIAL MEDIA