หลักการและเหตุผล
โลกที่มีการหลอกลวง ฉ้อโกงปรากฏให้เห็นทุกวัน องค์กรจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตรวจสอบสถานะที่พิถีพิถันและหลากหลายแง่มุมมากขึ้นกว่าที่เคย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจในระดับสากล สถาบันการเงินที่ประเมินความเสี่ยงและนักลงทุนที่ปกป้องผลประโยชน์ของตน ให้เป็นเกราะป้องกันที่สำคัญต่อความเสียหายทางการเงินและชื่อเสียงที่อาจเกิดขึ้น COSO องค์กรหลักด้านบริหารความเสี่ยงของโลก ได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรฐานการบริหารทุจริตฉบับเดิม และออกมาตรฐาน COSO FRAUD RISK MANAGEMENT 2024 เพื่อให้การต่อต้านทุจริตมีความทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของโลกยุคดิจิทัล และการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ นอกจากนั้น กฎหมายที่ออกมาต่อต้านการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ได้กลายเป็นกฎหมายสากลที่ใช้เป็นแนวทางการจัดการเดียวกันทั่วโลก ทำให้การบริหารงานเพื่อต่อต้านการทุจริต ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรยอมรับไม่ได้ ต้องเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้มาตรฐานใหม่ โดยเฉพาะด้วยกลไกการสำรวจในเชิงลึกที่เรียกว่า DUE DILIGENCE
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ เหตุผลการยกเลิกมาตรฐานเดิม องค์ประกอบ หลักการที่สำคัญ แนวทางมาตรฐานใหม่ COSO FRAUD RISK MANAGEMENT 2024 มาตรฐาน BIS สำหรับสถาบันการเงิน และ ISO 37003 : 2024 และประโยชน์ในการนำมาใช้ประกอบการบริหารและต่อต้านการทุจริตภายในองค์กร
2. เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้รับรู้ พัฒนาการของกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกมาใช้ต่อต้าน การทุจริต รวมทั้งกฎหมายป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และแนวทางในการกำกับการปฏิบัติงานด้านการบริหารและต่อต้านทุจริตภายในองค์กร
3. เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้รับรู้สิ่งที่ต้องเพิ่มกระบวนการ เพื่อสร้างตะแกรงในการคัดกรอง ด้วยกลไก DUE DILIGENCE โดยเฉพาะส่วนของคู่ค้าคู่สัญญา ผู้เสนองานผ่านการจัดซื้อจัดจ้าง
เนื้อหาการอบรม
วันที่ 1
สรุปเหตุผล ความจำเป็นที่ COSO ยกเลิกมาตรฐานเดิมของ COSO NEW FRAUD RISK MANAGEMENT 2016
และหลักการ เงื่อนไข องค์ประกอบสำคัญของมาตรฐานใหม่
- มาตรฐานสากลในการต่อต้านการทุจริตด้านการจ่ายเงิน สำหรับภาคสถาบันการเงิน BIS GUIDELINE 2023
- มาตรฐาน ISO/DIS 37003 2024 - Fraud Control Management Systems : Guidance for organizations managing the risk of fraud
- พัฒนาการของกฎหมายออกใหม่ รวมทั้งต่อต้านการฟอกเงิน และกฎหมายต่อต้านการสนับสนุนการก่อการร้าย มติ ครม.
และยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง
- RISK TREND MAPPING และการนำมาตรฐาน NEW FRAUD RISK MANAGEMENT สำคัญใช้ในงานควบคุมภายใน บริหารความเสี่ยง และตรวจสอบภายในองค์กร
วันที่2
- นโยบายองค์กรที่จำเป็นเพื่อวางกรอบแนวทางดำเนินงาน โครงสร้าง กลไกต่อการบริหารการทุจริต ในโลกและสังคมยุคดิจิทัล
- กระบวนการหลักในการต่อต้านทุจริต การกำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ที่เป็นเจ้าของกระบวนการเชิงบูรณาการ ตัวชี้วัดผลดำเนินงาน
- ตัวย่างกิจกรรมหลักในแต่ละกระบวนการที่ต้องเพิ่มเติมให้เกิดการบูรณาการการต่อต้านการทุจริต ในกิจกรรมที่มีการขัดกันของผลประโยชน์
**เนื้อหาหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม**
* หลักสูตรนี้ขอสงวนลิขสิทธิ์ *เป็นของสมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทยแต่เพียงผู้เดียว
วันที่ : 24 ตุลาคม 2567 ถึง 25 ตุลาคม 2567
เวลา : 09.00 - 16.00 น.
สถานที่ :โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ถนนพญาไท
วิทยากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้าน การบริหารความเสี่ยง และที่ปรึกษาองค์กรชั้นนำของประเทศไทย ทางด้านการบริหารความเสี่ยง โดยดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการของสมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย
เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารที่ปฏิบัติงานหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแล การวิเคราะห์ การบริหารองค์กร หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ของธนาคาร สถาบันการเงิน หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชนต่างๆ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป
ขั้นตอนการสมัครอบรม
1.ท่านสามารถสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tibfa.co.th หรือสแกน QR CODE (ตามที่แนบมา) โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม
2.ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร โดยเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.tibfa.co.th โดยเลือกหลักสูตรที่ท่านต้องการสมัคร กดดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียดผู้เข้าอบรม และสแกนใบสมัครส่งมาได้ที่อีเมล info@tibfa.co.th
วิธีการชำระเงิน
1.การโอนเงินเข้าบัญชี
ชื่อบัญชี “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย” บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถนนรัชดาภิเษก (สุขุมวิท-พระราม4) เลขที่บัญชี 718-2-09176-0
2.การสั่งจ่ายด้วยเช็ค ในนาม “สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย”
หมายเหตุ
1. สามารถหัก ภาษี ณ ที่จ่ายได้ หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993000133412
2. กรุณาส่งหน้าเช็คหรือใบนำฝากมาที่อีเมล info@tibfa.co.th
3. กรุณาชำระเงินอย่างน้อยล่วงหน้า 15 วัน ก่อนวันอบรมสัมมนา
4. ทางสมาคมสถาบันฯ ไม่รับชำระเป็นเงินสดหน้างาน
5. กรณีสมัครอบรมสัมมนาแล้ว หากไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน
หากแจ้งล่าช้าหรือกะทันหันจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เช่น ค่าอาหาร และค่าเอกสารบรรยาย ฯลฯ